หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์เฉพาะทางระดับวุฒิบัตรสาขาปริทันตวิทยา
SPECIALTY TRAINING PROGRAMME IN PERIODONTOLOGY
หลักสูตรใหม่ เริ่มใช้ปีการศึกษา ๒๕๔๔
1.
ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์เฉพาะทางระดับวุฒิบัตรสาขาปริทันตวิทยา
(ภาษาอังกฤษ) Specialty Training Programme in Periodontology
2.
ชื่อประกาศนียบัตร
(ภาษาไทย)
ชื่อเต็ม ประกาศนียบัตรทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาปริทันตวิทยา
ชื่อย่อ ป. ทันตแพทย์เฉพาะทาง (ปริทันตวิทยา)
(ภาษาอังกฤษ)
ชื่อเต็ม Certificate Specialty Training in Periodontology
ชื่อย่อ Cert. Specialty Training (Periodontology)
3.
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4.
ปรัชญาของหลักสูตร
เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการและวิจัย
ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถของวิชาชีพ ในสาขาวิชาปริทันตวิทยา
ให้เสมอกับระดับนานาชาติ โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชากรไทย
และประชาคมโลก
5.
คำนิยาม
ปริทันตวิทยา หมายถึงสาขาวิชาเฉพาะทางทางทันตแพทยศาสตร์
ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน การตรวจพิเคราะห์
และการรักษาโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะที่รองรับฟัน หรือสิ่งที่ทดแทนฟัน
เพื่อให้มีอวัยวะปริทันต์ที่แข็งแรง สามารถใช้งานได้
และมีความสวยงาม
6.
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
6.1 มีความรู้ความชำนาญอย่างสูงทางปริทันตวิทยา ในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
ทั้งในแนวลึกและแนว กว้าง
6.2 สามารถตรวจพิเคราะห์โรค
และให้การรักษาผู้ป่วยโรคปริทันต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักเกณฑ์ทางด้านวิทยาศาสตร์
และความรู้พื้นฐานที่ทันสมัยในแง่ของการเกิดโรค การดำเนินของโรค
และการจัดวางแผนการรักษาผู้ป่วย
6.3 มีความรู้ความเข้าใจในความเกี่ยวข้องระหว่างโรคทางระบบกับโรคปริทันต์
รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อในช่องปาก
6.4 สามารถตรวจแยกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์
เพื่อให้การป้องกันและการรักษาแก่ชุมชนอย่างเหมาะสม
6.5 ให้ความร่วมมือในการวางแผนการรักษา และให้การรักษาร่วมกับทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นๆ
ได้เป็นอย่างดี
6.6 มีเจตคติที่ดีในการป้องกันโรคปริทันต์ และการเผยแผ่ความรู้สู่ประชาชน
เพื่อส่งเสริมทันตสาธารณสุขของชาติ
6.7 มีความสามารถในการวิจารณ์ และประเมินผลงานวิจัยทางทันตกรรม
6.8 พัฒนาตนเองทางวิชาการเพื่อความรู้ที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
6.9 มีคุณธรรมและจริยธรรม และมีมนุษยสัมพันธ์อันดี ไม่ปฏิเสธในอันที่จะให้การบำบัดรักษาแก่ผู้พิการ
และผู้ด้อยโอกาส
7. กำหนดการเปิดอบรม
กำหนดเปิดอบรม ปีการศึกษา 2544
8.
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
8.1 คุณสมบัติ
ผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
8.1.1 ได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยของรัฐ
หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ทันตแพทยสภารับรอง
8.1.2 เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม
พ.ศ. 2537 หรือมีคุณสมบัติตามข้อ 46 แห่งข้อบังคับ
ทันตแพทยสภา ว่าด้วยเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติบัตรหรือวุฒิบัตร
แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
สาขาต่างๆ พ.ศ. 2539
8.1.3 ปฏิบัติงานทางทันตกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
หมายเหตุ ภาควิชาปริทันตวิทยา
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยความเห็นชอบของทันตแพทยสภา
อาจอนุมัติให้ผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางทันตกรรมของต่างประเทศ
เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรสาขาปริทันตวิทยา ได้เมื่อ
(1) เป็นไปตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศ และ
(2) ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบสาขาปริทันตวิทยา
8.2 วิธีการคัดเลือก
ให้เป็นไปตามข้อบังคับทันตแพทยสภา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติ
หรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพ
ทันตกรรมสาขาต่าง ๆ พ.ศ. 2539 ข้อ 47 โดยให้ดำเนินการโดย คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบสาขาปริทันตวิทยา
ร่วมกับผู้แทนจากสถาบัน
ที่ให้การฝึกอบรม สาขาปริทันตวิทยา โดยอนุมัติจากทันตแพทยสภา
9.
การสิ้นสุดสภาพ
9.1 ฝึกอบรมจนครบหลักสูตรตามที่ทันตแพทยสภารับรอง
9.2 ได้รับอนุมัติจากทันตแพทยสภาให้ลาออก
9.3 คณะกรรมการทันตแพทยสภามีมติให้ออก
9.4 พ้นสภาพสมาชิกทันตแพทยสภา
9.5 การให้ออกเนื่องจากการทำผิดอย่างร้ายแรงในขณะฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีสิทธิ์ยื่น
อุทธรณ์เพื่อให้ภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพิจารณาทบทวนได้
10.
การฝึกอบรม
10.1 ระบบการฝึกอบรม
เป็นการฝึกอบรมตามระบบ โดยให้เป็นไปตามข้อบังคับทันตแพทยสภา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติ
หรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมสาขาต่าง
ๆ พ.ศ. 2539 ข้อ 43(1)
10.2 ระยะเวลาการฝึกอบรม
เป็นไปตามข้อบังคับทันตแพทยสภาฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติหรือ
วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ
ในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมสาขาต่าง ๆ พ.ศ. 2539 ข้อ 44 โดยมีระยะเวลาฝึกอบรมไม่น้อยกว่า
3 ปี หรือ 36 เดือน ซึ่งประกอบด้วย
(1) ฝึกอบรมในสถาบันหลักเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือ
(2) ฝึกอบรมในสถาบันหลักเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี และในสถาบันสมทบเป็นระยะ
เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
(3) ฝึกอบรมในสถาบันหลักเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และในสถาบันสมทบเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า
2 ปี
10.3 แผนการรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ปีการศึกษา 2544 2545 2546 2547 2548
จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่คาดว่าจะรับ 5 5 5 5 5
จำนวนสะสม 5 10 15 15 15
จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่คาดว่าจะจบ 5 5
11.
การประเมินผล
ภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นผู้กำหนด โดยให้มีการประเมินผลทั้งภาควิชาการ
และภาคปฏิบัติทุกภาคการศึกษาด้วยวิธีการที่เหมาะสม ทั้งนี้ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า
3.00
12.
การสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับวุฒิบัตร
ผู้สำเร็จการฝึกอบรมมีสิทธิในการยื่นคำขอสอบวุฒิบัตรเพื่อ เป็นผู้ชำนาญการในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมสาขาปริทันตวิทยา
ซึ่งดำเนินการโดยทันตแพทยสภา
13.
สถาบันฝึกอบรม
13.1 สถาบันหลัก
13.1.1 ภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มีสถานที่ อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและความพร้อม
มีจำนวนผู้ป่วยเพียงพอ แก่การศึกษา และมีอาจารย์ทันตแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิรับผิดชอบที่จะดำเนินการตามโครงการฝึกอบรม
13.1.2 มีหน่วยงานที่ให้บริการดังต่อไปนี้
(1.) ห้องปฏิบัติการทางทันตกรรม และห้องปฏิบัติการเพื่อการวินิจฉัยโรค
ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาทางทันตกรรม รวมทั้งมีสิ่งอำนวยความสะดวก
ระดับโรงพยาบาล
(2.) หน่วยรังสีวิทยาที่สามารถทำการตรวจและวินิจฉัยโรค โดยการใช้รังสีได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
(3.) ห้องสมุดที่มีตำรามาตรฐานทางปริทันตวิทยา จำนวน 211 เล่ม
และวารสาร
ทางปริทันตวิทยาที่ใช้เป็นประจำ จำนวน 10 รายการ และมีตำราทางสาขาวิชา
ที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวน 7328 เล่ม และวารสาร
ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 82 รายการ นอกจากนี้ ยังมีหนังสือดรรชนี
และ
CD ROM สำหรับช่วยค้นหารายงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร รวมทั้งมีหน่วย
สารสนเทศที่ได้มาตรฐาน
(4.) หน่วยเวชระเบียนและสถิติ ซึ่งมีรายงานประจำตัวผู้ป่วย และสถิติเกี่ยวกับ
ผู้ป่วยของโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตลอดจนมีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรมด้านนี้มาแล้วเป็นผู้รับผิดชอบ
13.1.3 มีหน่วยงานที่เกี่ยวกับการตรวจรักษาผู้ป่วย ที่มีระบบการควบคุมการติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับให
้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ปฏิบัติงาน ตามเวลาที่เหมาะสมและเพียงพอ
ตลอดจนมีเจ้าหน้าที่ ที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้วเป็นผู้รับผิดชอบ
13.1.4 สามารถจัดการเรียนในภาคทฤษฎีให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้
และสนับสนุนให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมไปร่วมประชุมทางวิชาการ
นอกสถาบันได้ตามโอกาสอันควร
15.
หลักสูตรการฝึกอบรม
15.1 โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตภาควิชาการ
33 หน่วยกิต
- วิชาพื้นฐานบังคับ
10 หน่วยกิต
- วิชาเฉพาะ
15 หน่วยกิต
- วิชาที่เกี่ยวข้อง
7 หน่วยกิต
- วิชาเลือกไม่น้อยกว่า
2 หน่วยกิต
จำนวนชั่วโมงภาคปฏิบัติงาน
3,008 ชั่วโมง
15.2 รายวิชาภาควิชาการ
15.2.1 รายวิชาพื้นฐานบังคับ
15.2.1.1 ชีวเวชศาสตร์ 1
2 (2-0-6)
Biomedical Science I
15.2.1.2 ชีวเวชศาสตร์ 2
2 (2-0-6)
Biomedical Science II
15.2.1.3 กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์บริเวณศีรษะและลำคอ
1 (1-0-3)
Applied Anatomy of Head & Neck
15.2.1.4 วิธีวิทยาการวิจัยทางทันตแพทยศาสตร ์ 2
(2-0-6)
Research Methodology in Dentistry
15.2.1.5 สถิติทางทันตแพทยศาสตร ์ 2
(2-0-6)
Statistics in Dentistry
15.2.1.6 จริยธรรมวิชาชีพ
1 (1-0-3)
Professional Ethics
15.2.2 รายวิชาเฉพาะ
15.2.2.1 ปริทันตวิทยาขั้นสูง
2 (2-0-6)
Advanced Periodontology
15.2.2.2 ปริทันตบำบัดขั้นสูง 1
1 (1-0-3)
Advanced Periodontal Therapy I
15.2.2.3 ปริทันตบำบัดขั้นสูง 2
1 (1-0-3)
Advanced Periodontal Therapy II
15.2.2.4 ปริทันตบำบัดขั้นสูง 3 1
(1-0-3)
Advanced Periodontal Therapy III
15.2.2.5 สัมมนาวรรณกรรมปริทันตวิทยา 1
1 (1-0-3)
Seminar in Periodontology Literatures I
15.2.2.6 สัมมนาวรรณกรรมปริทันตวิทยา 2
1 (1-0-3)
Seminar in Periodontology Literatures II
15.2.2.7 หัวข้อและแนวคิดปัจจุบันทางปริทันตวิทยา 1
1 (1-0-3)
Current Topics and Concepts in Periodontology I
15.2.2.8 หัวข้อและแนวคิดปัจจุบันทางปริทันตวิทยา 2 1
(1-0-3)
Current Topics and Concepts in Periodontology II
15.2.2.9 สัมมนาการวางแผนการรักษาทางปริทันตศาสตร์ 1
1 (1-0-3)
Seminar on Treatment Planning in Periodontics I
15.2.2.10 สัมมนาการวางแผนการรักษาทางปริทันตศาสตร์ 2
1 (1-0-3)
Seminar on Treatment Planning in Periodontics II
15.2.2.11 สัมมนาการวางแผนการรักษาทางปริทันตศาสตร์ 3 1
(1-0-3)
Seminar on Treatment Planning in Periodontics III
15.2.2.12 สัมมนาการวางแผนการรักษาทางปริทันตศาสตร์ 4 1
(1-0-3)
Seminar on Treatment Planning in Periodontics IV
15.2.2.13 สัมมนาสหสาขา 1
(1-0-3)
Seminar on Interdisciplinary Coordination
15.2.2.14 การฝึกสอนทางปริทันตวิทยา
1 (0-3-1)
Practice Teaching in Periodontology
15.2.3 รายวิชาที่เกี่ยวข้อง
15.2.3.1 เวชศาสตร์ช่องปาก 1
1 (1-0-3)
Oral Medicine I
15.2.3.2 ความเจ็บปวดและ
ความผิดปกติของขากรรไกรและใบหน้า
2 (2-0-6)
Orofacial Pain and Temporomandibular Disorders
15.2.3.3 ทันตกรรมรากเทียม
1 (1-0-3)
Implant Dentistry
15.2.3.4 การทำให้สงบและยาทางทันตกรรม
1 (1-0-3)
Sedation and Drugs in Dentistry
15.2.3.5 จุลชีววิทยาช่องปากและวิทยาภูมิคุ้มกัน
1 (1-0-3)
Oral Microbiology and Immunology
15.2.3.6 การถ่ายภาพทางทันตกรรม
1 (1-0-3)
Dental Photography
15.2.4 รายวิชาเลือก
15.2.4.1 จิตวิทยาสัมพันธ์
1 (1-0-3)
Encountering Psychology
15.2.4.2 ทันตวัสดุศาสตร์ชั้นสูง 1
(1-0-3)
Advanced Dental Material Sciences
15.2.4.3 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทางทันตแพทยศาสตร์ 1
(1-0-3)
Tissue Culture in Dentistry
15.2.4.4 ปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทางทันตแพทยศาสตร์ 1
(0-3-1)
Tissue Culture in Dentistry Laboratory
15.2.4.5 อายุรศาสตร์ทั่วไป 1
(1-0-3)
General Medicine
15.2.4.6 โภชนาการเพื่อสุขภาพช่องปาก
1 (1-0-3)
Nutrition in Oral Health
15.2.4.7 จุลทรรศน์อิเล็กตรอนสำหรับทันตแพทย์
2 (2-0-6)
Electron Microscopy in Dentistry
15.3 รายวิชาภาคปฏิบัติงาน
15.3.1 คลินิกทันตกรรมบดเคี้ยว 4 8
ชั่วโมง
Clinical Occlusion
15.3.2 ปริทันตวิทยาคลินิก 1
144 ชั่วโมง
Clinical Periodontology I
15.3.3 ปริทันตวิทยาคลินิก 2
368 ชั่วโมง
Clinical Periodontology II
15.3.4 ปริทันตวิทยาคลินิก 3 192
ชั่วโมง
Clinical Periodontology III
15.3.5 ปริทันตวิทยาคลินิก 4
432 ชั่วโมง
Clinical Periodontology IV
15.3.6 ปริทันตวิทยาคลินิก 5 416
ชั่วโมง
Clinical Periodontology V
15.3.7 ปริทันตวิทยาคลินิก 6 192
ชั่วโมง
Clinical Periodontology VI
15.3.8 ปริทันตวิทยาคลินิก 7 512
ชั่วโมง
Clinical Periodontology VII
15.3.9 ปริทันตวิทยาคลินิก 8 512
ชั่วโมง
Clinical Periodontology VIII
15.3.10 ปริทันตวิทยาคลินิก 9
192 ชั่วโมง
Clinical Periodontology IX
15.4 โปรแกรมการศึกษา
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
ชีวเวชศาสตร์ 1
2 หน่วยกิต
ชีวเวชศาสตร์ 2
2 หน่วยกิต
กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์บริเวณศีรษะและลำคอ
1 หน่วยกิต
ความเจ็บปวดและความผิดปกติของขากรรไกรและใบหน้า
1 หน่วยกิต
วิธีวิทยาการวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์
2 หน่วยกิต
การถ่ายภาพทางทันตกรรม
1 หน่วยกิต
ปริทันตวิทยาขั้นสูง
2 หน่วยกิต
ปริทันต์บำบัดขั้นสูง 1 1
หน่วยกิต
ปริทันตวิทยาคลินิก 1 144
ชั่วโมง
รวม ภาควิชาการ 12 หน่วยกิต และภาคปฏิบัติงาน
144 ชั่วโมง
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
จุลชีววิทยาช่องปากและวิทยาภูมิคุ้มกัน 1
หน่วยกิต
สถิติทางทันตแพทยศาสตร์
2 หน่วยกิต
ปริทันตบำบัดขั้นสูง 2 1
หน่วยกิต
สัมมนาวรรณกรรมปริทันตวิทยา 1 1
หน่วยกิต
วิชาเลือก
1 หน่วยกิต
คลินิกทันตกรรมบดเคี้ยว 48
ชั่วโมง
ปริทันตวิทยาคลินิก 2 368
ชั่วโมง
รวม ภาควิชาการ 6 หน่วยกิต และภาคปฏิบัติงาน 416
ชั่วโมง
ปีที่ 1 ภาคฤดูร้อน
ปริทันตวิทยาคลินิก 3 192
ชั่วโมง
รวม ภาคปฏิบัติงาน
192 ชั่วโมง
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
เวชศาสตร์ช่องปาก 1 1
หน่วยกิต
การทำให้สงบและยาทางทันตกรรม 1
หน่วยกิต
ทันตกรรมรากเทียม 1
หน่วยกิต
ปริทันต์บำบัดขั้นสูง 3 1
หน่วยกิต
สัมมนาวรรณกรรมปริทันตวิทยา 2 1
หน่วยกิต
สัมมนาการวางแผนการรักษาทางปริทันตศาสตร์ 1 1
หน่วยกิต
ปริทันตวิทยาคลินิก 4 432
ชั่วโมง
รวม ภาควิชาการ 6 หน่วยกิต และภาคปฏิบัติงาน
432 ชั่วโมง
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
สัมมนาการวางแผนการรักษาทางปริทันตศาสตร์ 2 1
หน่วยกิต
สัมมนาสหสาขา 1
หน่วยกิต
ปริทันตวิทยาคลินิก 5
416 ชั่วโมง
รวม ภาควิชาการ 2 หน่วยกิต และภาคปฏิบัติงาน
416 ชั่วโมง
ปีที่ 2 ภาคฤดูร้อน
ปริทันตวิทยาคลินิก 6 192
ชั่วโมง
รวม ภาคปฏิบัติงาน 192
ชั่วโมง
ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1
การฝึกสอนทางปริทันตวิทยา
1 หน่วยกิต
หัวข้อและแนวคิดปัจจุบันทางปริทันตวิทยา 1
1 หน่วยกิต
สัมมนาการวางแผนการรักษาทางปริทันตศาสตร์ 3
1 หน่วยกิต
ปริทันตวิทยาคลินิก 7 512
ชั่วโมง
รวม ภาควิชาการ 3 หน่วยกิต
และภาคปฏิบัติงาน
512 ชั่วโมง
ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่
2
หัวข้อและแนวคิดปัจจุบันทางปริทันตวิทยา 2
1 หน่วยกิต
จริยธรรมวิชาชีพ
1 หน่วยกิต
สัมมนาการวางแผนการรักษาทางปริทันตศาสตร์ 4
1 หน่วยกิต
วิชาเลือก
1 หน่วยกิต
ปริทันตวิทยาคลินิก 8 512
ชั่วโมง
รวม ภาควิชาการ 4 หน่วยกิต
และภาคปฏิบัติงาน
512 ชั่วโมง
ปีที่ 3 ภาคฤดูร้อน
ปริทันตวิทยาคลินิก 9 192
ชั่วโมง
รวม ภาคปฏิบัติงาน 192
ชั่วโมง
|