|
|
|
|
|
Sinc
๑๙/ตค./๔๔ |
|
|
  ขั้นตอนการเกิดโรคปริทันต์
ท่านมีอาการอย่างนี้บ้างหรือไม่
เลือดออกขณะแปรงฟัน
เหงือกบวมแดง
มีกลิ่นปาก
เหงือกร่น
มีหนองออกจากร่องเหงือก
ฟันโยก
ฟันเคลื่อนห่างออกจากกัน
ถ้าท่านมีอาการดังกล่าว แสดงว่า โรคปริทันต์ได้มาเยี่ยมเยียนท่านแล้ว
ถ้าท่านละเลยการทำความสะอาดฟัน จะทำให้มีคราบจุลินทรีย์สะสมบนตัวฟันมากขึ้น
ทำให้เกิดโรคปริทันต์ได้
โรคปริทันต์นั้นขบวนการที่เกิดต่อเนื่องกัน
แต่เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น จึงแยกออกเป็น ๕ ขั้นตอนดังนี้คือ
ขั้นที่
๑ เหงือกอักเสบ บวม
แดง
ปกติเหงือกจะมีสีชมพูซีด และรัดแน่นรอบคอฟัน
โดยมีร่องเหงือกลึกประมาณ ๐.๕-๓ มม. การวัดความลึกของร่องเหงือกใช้เครื่องมือเรียก
เครื่องมือตรวจปริทันต์ (Periodontal Probe) เมื่อมีคราบจุลินทรีย์สะสมมากขึ้นบนตัวฟัน
โดยเฉพาะใกล้ขอบเหงือกและเข้าไปในร่องเหงือก ทำให้สารพิษซึ่งอยู่ในคราบจุลินทรีย์ซึมผ่านเข้าไปในเหงือกได้
จึงเกิดการอักเสบของเหงือกขึ้น การอักเสบทำให้เหงือกไม่รัดแน่นกับฟัน
ทำให้คราบจุลินทรีย์สามารถเข้าไปในร่องเหงือกง่ายขึ้น และทำอันตรายมากขึ้น
ร่างกายจะต่อสู้โดยส่งเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ทำให้หลอดเลือกบริเวณนั้นขยายใหญ่ขึ้น
เหงือกจึงบวม แดง และมีการอักเสบ ดังนั้นเมื่อโดนแปรงหรือแรงกดใดเพียงเบา
ๆ จะทำให้เลือดออกได้
การให้การรักษาที่ถูกต้องและการรักษาสุขภาพช่องปากอย่างดีในระยะแรกนี้
สามารถหยุดโรคเหงือกอักเสบนี้ได้อย่างสิ้นเชิง เหงือกสามารถกลับสู่สภาพเดิมได้
ขั้นที่
๒ ถ้าละเลยให้มีคราบจุลินทรีย์สะสมมากขึ้น จะทำให้คราบจุลินทรีย์บุกรุกเข้าไปในร่องเหงือกมาขึ้นไปอีก
ร่องเหงือกก็จะลึกยิ่งขึ้นเนื่องจากเกิดการทำลายของเส้นใยเหงือก ถ้าร่องเหงือกลึกเกิน
๓ ม.ม. เรียกร่องเหงือกนั้นว่า ร่องลึกปริทันต์ (Periodontal Pocket)
ซึ่งร่องลึกปริทันต์นี้ทำความสะอาดได้ยากมาก และจะทำความสะอาดเองไม่ได้เลย
เมื่อคราบจุลินทรีย์เปลี่ยนเป็นหินปูน สารพิษจากคราบจุลินทรีย์ในร่องลึกปริทันต์
๔ ม.ม. สามารถทำลายกระดูกใกล้เคียงได้
การรักษาโดยการขูดหินปูนและทำให้รากฟันเรียบปราศจากสารพิษร่วมกับการทำความสะอาดฟันอย่างถูกต้องจะทำให้การดำเนินของโรคช้าลง
หรือหยุดได้ แต่เหงือกและกระดูกไม่สามารถจะกลับสู่สภาพเดิมได้อย่างสมบูรณ์
ขั้นที่
๓ คราบจุลินทรีย์สะสมลึกมากขึ้น ทำให้เกิดการสูญเสียกระดูกเบ้าฟัน
และร่องลึกปริทันต์จะเลื่อนไปทางปลายรากฟันมากขึ้น จะมีหนองเกิดภายในร่องลึกปริทันต์ซึมเข้าไปภายในช่องปาก
ทำให้มีกลิ่นปาก
การรักษาร่วมกับการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง ยังคงหยุดการดำเนินของโรคในขั้นนี้ได้
ขั้นที่
๔ ในขั้นนี้จะมีการสูญเสียกระดูกเบ้าฟันไปประมาณครึ่งหนึ่ง
และเหงือกจะร่นตามไปด้วย ทำให้เห็นฟันยาวขึ้นบางครั้งเหงือกจะไม่ร่นตามกระดูก
แต่จะใหญ่ขึ้นเพราะมีการอักเสบระยะนานทำให้มักเข้าใจผิดไปว่าปกติ อันที่จริงแล้วมีโรคอยู่ข้างใต้
จะมีอาการปวด บวม เป็นฝี เนื่องจากการระบายหนองออกจากร่องลึกปริทันต์ติดขัดเมื่อฝีแตกก็จะหายปวด
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะหายขาด จะเป็น ๆ หาย ๆ อยู่เช่นนี้ จนกว่าจะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะมีการละลายของกระดูกมากขึ้น ทำให้ฟันโยกมากขึ้นในที่สุดจะถึงขั้นที่
๕
ขั้นที่
๕ ขั้นนี้เป็นขั้นสุดท้าย เนื่องจากมีการละลายของกระดูกเบ้าฟันมากจนเกือบถึงปลายรากฟัน
โยกมาก เพราะไม่มีกระดูกมายึดไว้ซึ่งในขั้นนี้ไม่สามารถให้การรักษาใด
ๆ ได้ นอกจากต้องถอนฟันซี่นั้นไป |