หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
สาขาวิชาปริทันตวิทยา
(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๔)
1.
ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง สาขาวิชาปริทันตวิทยา
(ภาษาอังกฤษ) Higher Graduate Diploma in Periodontology
2.
ชื่อปริญญา
(ภาษาไทย)
ชื่อเต็ม ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
ชื่อย่อ ป. บัณฑิตชั้นสูง
(ภาษาอังกฤษ)
ชื่อเต็ม Higher Graduate Diploma
ชื่อย่อ Higher. Grad. Dip.
3.
ชื่อที่ลงในใบ TRANSCRIPT
Department : Periodontology
Concentration : Periodontology
4.
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาปริทันตวิทยา
คณะทันตแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.
ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น
5.1 หลักสูตรนี้จะมีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในจุฬาฯ ยังไม่มี
5.2 หลักสูตรนี้จะมีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นนอกจุฬาฯ ยังไม่มี
6.
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
6.1 หลักการและเหตุผล
โรคปริทันต์เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะที่ช่วยยึดฟัน
ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรโลก ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปต้องสูญเสียฟันไป
จากการสำรวจสภาวะปริทันต์ของประชากรไทย พบว่ามีประมาณร้อยละ 10 ที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบขั้นรุนแรง
ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยทันตแพทย์เฉพาะทาง จึงมีความจำเป็นต้องผลิตทันตแพทย์เฉพาะทาง
สาขาปริทันตวิทยาที่มีมาตรฐานระดับสากล ให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ
ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบกับวิชาการทางปริทันตวิทยาได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
จึงมีความจำเป็นที่จะต้องผลิตบุคลากรที่ก้าวทันวิทยาการ และมีความเชี่ยวชาญสูงในการปฏิบัติงานด้านปริทันตวิทยา
6.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
6.2.1 เพื่อผลิตทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ในการบำบัดรักษาโรคปริทันต์อักเสบขั้นรุนแรง
ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล ทั้งสามารถปฏิบัติหน้าที่ร่วมคณะกับแพทย์และทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง มีความใฝ่รู้และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ
มีเจตคติที่ดีในการป้องกันโรคปริทันต์ และมีการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน
และถึงพร้อมด้วยเมตตาธรรม จริยธรรมอันดีงาม
6.2.2 เพื่อผลิตอาจารย์ทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาปริทันตวิทยา
7. หลักสูตรที่เสนอเปิดใหม่มีลักษณะคล้ายคลึงกับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนอยู่แล้วในจุฬาฯ
ไม่มี
8.
หลักสูตรลักษณะนี้มีเปิดสอนอยู่แล้วที่มหาวิทยาลัยอื่นในประเทศ
ได้แก่
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง สาขาทันตกรรมจัดฟัน
(ต่างสาขากับหลักสูตรใหม่ที่เสนอเปิด)
9. หลักสูตรที่เสนอเปิดใหม่เป็นหลักสูตรที่จะได้รับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศหรือไม่
ไม่มี
10.
หลักสูตรของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ที่ท่านใช้ประกอบการพัฒนาหลักสูตรนี้
ในประเทศสหรัฐอเมริกา การเรียนการสอนระดับปริญญาโท
และการฝึกอบรมระดับผู้เชี่ยวชาญสาขาปริทันตวิทยานั้นผสมผสานกัน โดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า
3 ปี ผิดกับหลักสูตรปริญญาโทในประเทศไทยที่มีกำหนดให้เพียง 2 ปี ดังนั้น
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง จึงเทียบได้กับการเรียนการสอนในปีที่สามดังได้กล่าวมาแล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งในที่นี้ใช้หลักสูตรของมหาวิทยาลัยบอสตันประกอบการพัฒนา
11. กำหนดการเปิดสอนหลักสูตรใหม่
ปีการศึกษา 2545
12. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
12.1 สำเร็จปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปริทันตศาสตร์ (ปริทันตวิทยา)
จากมหาวิทยาลัย
ของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ทันตแพทยสภารับรอง
12.2 เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม
พ.ศ. 2537
12.3 คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามประกาศซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปีๆ
ไป หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาได้
13.
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
เป็นไปตามคู่มือการรับสมัครเข้าศึกษาในบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ซึ่งจะประกาศ
ให้ทราบเป็นปีๆ ไป
14.
ระบบการศึกษา
ใช้ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิต เป็นแบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่งๆแบ่งออกเป็น
2 ภาคการศึกษา คือ ภาคการศึกษาต้น และภาคการศึกษาปลาย และอาจมีภาคฤดูร้อนต่อจากภาคการศึกษาปลายอีก
1 ภาค ภาคการศึกษาหนึ่งๆ มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ส่วนภาคฤดูร้อนมีระยะเวลาการศึกษาประมาณ
6 - 8 สัปดาห์
15.
ระยะเวลาการศึกษา
ไม่เกิน 2 ปีการศึกษา นับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตร
16.
การลงทะเบียนเรียน
ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 15 หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษา
ส่วนภาคฤดูร้อน
ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
17.
การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
การประเมินผลรายวิชา ใช้สัญลักษณ์ A B+ B C+ C D+ D และ F
20. สถานที่และอุปกรณ์การสอน
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีห้องเรียนและโสตทัศนูปกรณ์
พร้อมทั้งมีระบบสารสนเทศ สำหรับการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาโดยเฉพาะอย่างพอเพียง
รวมทั้งมีคลินิกบัณฑิตศึกษาปริทันตวิทยา สำหรับนิสิตบัณฑิตสาขาปริทันตวิทยาให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคปริทันต์
ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ นอกจากนั้น คณะทันตแพทยศาสตร์ยังมีคลินิกทันตกรรมครบถ้วนทุกสาขารองรับการรักษาอื่นๆ
ที่เกี่ยวเนื่องกับการรักษาทางปริทันต์ ตลอดทั้งศักยภาพการวินิจฉัยโรคด้วยวิธีการทางรังสีวิทยา
พยาธิวิทยา จุลชีววิทยา ชีวเคมี ฯลฯ
21. ห้องสมุด
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีห้องสมุดที่มีตำรามาตรฐานทางปริทันตวิทยาจำนวน
211 เล่ม และวารสารทางปริทันตวิทยาที่ใช้เป็นประจำ จำนวน 10 รายการ
และมีตำราทางสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวน
7,328 เล่ม และวารสารที่เกี่ยวข้อง จำนวน 82 รายการ นอกจากนี้ ยังมีหนังสือดัชนี
และ CD ROM สำหรับช่วยค้นหารายงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร รวมทั้งมีหน่วยสารสนเทศที่ได้มาตรฐาน
22.
งบประมาณ
ค่าใช้จ่ายดำเนินการในการผลิตบัณฑิต ประมาณคนละ 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
23.
หลักสูตร
23.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 19
หน่วยกิต
23.2 โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน
7 หน่วยกิต
รายวิชาบังคับ
6 หน่วยกิต
- รายวิชาบังคับร่วม
1 หน่วยกิต
- รายวิชาบังคับเฉพาะสาขา 5
หน่วยกิต
รายวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 1
หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาปฏิบัติการคลินิก 12
หน่วยกิต
23.3 รายวิชาเรียน
23.3.1 รายวิชาบังคับ
6 หน่วยกิต
23.3.1.1 รายวิชาบังคับร่วม 1
หน่วยกิต
3200 716* จริยธรรมทางทันตแพทย์ 1
(1-0-3)
Professional Ethics
23.3.1.2 รายวิชาบังคับเฉพาะสาขา
5 หน่วยกิต
3215 758* หัวข้อและแนวคิดปัจจุบันทางปริทันตวิทยา 1
1 (1-0-3)
Current Topics and Concepts in Periodontology I
3215 759* หัวข้อและแนวคิดปัจจุบันทางปริทันตวิทยา 2
1 (1-0-3)
Current Topics and Concepts in Periodontology II
3215 760* สัมมนาการวางแผนการรักษาทางปริทันตศาสตร์ 3
1 (1-0-3)
Seminar in Treatment Planning in Periodontics III
3215 761* สัมมนาการวางแผนการรักษาทางปริทันตศาสตร์ 4 1
(1-0-3)
Seminar in Treatment Planning in Periodontics IV
3215 762* การฝึกสอนทางปริทันตวิทยา
1 (0-3-1)
Practice Teaching in Periodontology
23.3.2 รายวิชาเลือก
ไม่น้อยกว่า
1 หน่วยกิต
3201 709 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทางทันตแพทยศาสตร์ 1
(1-0-3)
Tissue Culture in Dentistry
3201 710 ปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทางทันตแพทยศาสตร์
1 (0-3-1)
Tissue Culture in Dentistry Laboratory
3208 730 ทันตวัสดุศาสตร์ชั้นสูง
1 (1-0-3)
Advance Dental Material Sciences
3211 737 อายุรศาสตร์ทั่วไป
1 (1-0-3)
General Medicine
3211 742 โภชนาการสำหรับทันตแพทย์
1 (1-0-3)
Nutrition for Dentistry
3802 629 จิตวิทยาสัมพันธ์
1 (1-0-3)
Encountering Psychology
23.3.3 รายวิชาปฏิบัติการคลินิก 12
หน่วยกิต
3215 755* คลินิกปริทันตศาสตร์ 5 6
(0-36-0)
Periodontic Clinic V
3215 756* คลินิกปริทันตศาสตร์ 6 6
(0-36-0)
Periodontic Clinic VI
3215 757* คลินิกปริทันตศาสตร์ 7
S / U
Periodontic Clinic VII
*
รายวิชาที่เปิดใหม่
23.4 แผนการศึกษา
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่
1
หน่วยกิต
3215 758* หัวข้อและแนวคิดปัจจุบันทางปริทันตวิทยา 1
1
3215 760* สัมมนาการวางแผนการรักษาทางปริทันตศาสตร์ 3 1
3215 762* การฝึกสอนทางปริทันตวิทยา
1
3215 755* คลินิกปริทันตศาสตร์ 5
6
9
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่
2
3215 759* หัวข้อและแนวคิดปัจจุบันทางปริทันตวิทยา 2
1
3215 761* สัมมนาการวางแผนการรักษาทางปริทันตศาสตร์ 4
1
3200 716* จริยธรรมทางทันตแพทย์
1
XXXX XXX วิชาเลือก
1
3215 756* คลินิกปริทันตศาสตร์ 6
6
10
ปีที่ 1 ภาคฤดูร้อน
3215 757* คลินิกปริทันตศาสตร์ 7
S/U
|