หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
สาขาวิชาปริทันตวิทยา
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๔)
1.
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาปริทันตวิทยา
Graduate Diploma in Clinical Sciences Program in Periodontology
2.
ชื่อปริญญา
ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
ป. บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
Graduate Diploma in Clinical Sciences
Grad. Dip. in Clin. Sc.
3.
ชื่อที่ลงในใบ TRANSCRIPT
DEPARTMENT : Periodontology
CONCENTRATION : Periodontology
4.
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาปริทันตวิทยา
คณะทันตแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.
ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น
5.1 หลักสูตรนี้จะมีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในจุฬาฯ ยังไม่มี
5.2 หลักสูตรนี้จะมีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นนอกจุฬาฯ ยังไม่มี
6.
หลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
6.1 หลักการและเหตุผล
โรคปริทันต์เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะที่ช่วยยึดฟัน
ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรโลก ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปต้องสูญเสียฟัน
จากการสำรวจสภาวะปริทันต์ของประชากรไทย พบว่ามีประมาณร้อยละ 10 ที่เป็นโรค
ปริทันต์อักเสบขั้นรุนแรง ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยทันตแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถทางปริทันตวิทยา
เพื่อเป็นการบรรเทาการขาดแคลนของทันตบุคลากรดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องผลิตทันตแพทย์
ที่มีความรู้ความสามารถทาง
ปริทันตวิทยาในระดับปานกลาง ซึ่งใช้ระยะเวลาการศึกษาเพียง 1 ปี ในอันที่จะช่วยส่งเสริมทันตสาธารณสุขของประเทศเป็นการเฉพาะหน้า
อีกทั้งเป็นบันไดให้ก้าวสู่การศึกษาอบรมในขั้นสูงต่อไป
6.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเดิม
6.2.1 แก้ไขโครงสร้างของหลักสูตรให้เข้ากับเกณฑ์ของทบวงฯ ที่ได้กำหนดขึ้นใหม่
6.2.2 ปรับปรุงวิชา และเนื้อหาวิชาให้เหมาะสม และทันกับความก้าวหน้าทางวิชาการของสาขาวิชานี้
ซึ่งได้มีวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลา
6.2.3 ส่งเสริมให้เกิดความสนใจ ใฝ่รู้ ในวิทยาการใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาและวิจัยต่อไป
6.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตรปรับปรุง
6.3.1 เพื่อผลิตทันตแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญ ระดับปานกลางทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
ในสาขา
ปริทันตวิทยา
6.3.2 เพื่อเร่งรัดการผลิตทันตบุคลากรสาขาปริทันตวิทยา ให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ
ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข
6.3.3 เพื่อเตรียมทรัพยากรบุคคลให้ก้าวสู่การศึกษาอบรมขั้นสูง ในสาขาปริทันตวิทยาต่อไปในอนาคต
7.
หลักสูตรที่เสนอปรับปรุงมีลักษณะคล้ายคลึงกับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนอยู่แล้วในจุฬาฯ
ไม่มี
8. หลักสูตรลักษณะนี้มีเปิดสอนอยู่แล้วที่มหาวิทยาลัยอื่นในประเทศ
ได้แก่
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
9.
หลักสูตรที่เสนอปรับปรุงเป็นหลักสูตร ที่จะได้รับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศหรือไม่
ไม่มี
10.
หลักสูตรของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ที่ท่านใช้ประกอบการพัฒนาหลักสูตรนี้
ได้แก่
หลักสูตรของมหาวิทยาลัยบอสตัน โดยใช้เป็นแนวทางการจัดรายวิชาบางรายวิชาเท่านั้น
เพื่อปรับมาตรฐาน
11.
กำหนดการเปิดสอนหลักสูตรปรับปรุง ปีการศึกษา 2545
(เริ่มใช้หลักสูตรเดิม เมื่อปีการศึกษา 2528)
12.
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
12.1 สำเร็จปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยอื่น
ๆ ที่ทันตแพทย-สภารับรอง
12.2 เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม
พ.ศ. 2537
12.3 ปฏิบัติงานทางทันตกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
12.4 คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศ ซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปี
ๆ ไป หรือ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาได้
13.
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
เป็นไปตามคู่มือการรับสมัครเข้าศึกษาในบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็น
ปี ๆ ไป
14.
ระบบการศึกษา
ใช้ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิต เป็นแบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่งๆ แบ่งออกเป็น
2 ภาคการศึกษา คือ ภาคการศึกษาต้น และภาคการศึกษาปลาย และอาจมีภาคฤดูร้อนต่อจากภาคการศึกษาปลายอีก
1 ภาคก็ได้ ภาคการศึกษาหนึ่งๆ มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ส่วนภาคฤดูร้อนมีระยะเวลาการศึกษาประมาณ
6 - 8 สัปดาห์
15.
ระยะเวลาการศึกษา
ไม่เกิน 2 ปีการศึกษา นับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตร
16.
การลงทะเบียนเรียน
ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 15 หน่วยกิตในแต่ละภาคการศึกษาส่วนภาคฤดูร้อนไม่เกิน
6 หน่วยกิต
17.
การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
การประเมินผลรายวิชา ใช้สัญลักษณ์ A B+ B C+ C D+ D และ F
20. สถานที่ และอุปกรณ์การสอน
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีห้องเรียนและโสตทัศนูปกรณ์
พร้อมทั้งมีระบบสารสนเทศสำหรับการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาโดยเฉพาะอย่างพอเพียง
รวมทั้งมีคลินิกบัณฑิตศึกษาปริทันตวิทยา สำหรับนิสิตบัณฑิตสาขาปริทันตวิทยาให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคปริทันต์
ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ นอกจากนั้น คณะทันตแพทยศาสตร์
ยังมีคลินิกทันตกรรมครบถ้วนทุกสาขา รองรับการรักษาอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการรักษาทาง
ปริทันต์ ตลอดทั้งศักยภาพการวินิจฉัยโรคด้วยวิธีการทางรังสีวิทยา พยาธิวิทยา
จุลชีววิทยา ชีวเคมี ฯลฯ
21. ห้องสมุด
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีห้องสมุดที่มีตำรามาตรฐานทางปริทันตวิทยา
จำนวน 211 เล่ม และวารสารทางปริทันตวิทยาที่ใช้เป็นประจำ จำนวน 10
รายการ และมีตำราทางสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
จำนวน 7,328 เล่ม และวารสารที่เกี่ยวข้อง จำนวน 82 รายการ นอกจากนี้
ยังมีหนังสือดรรชนี และ CD ROM สำหรับช่วยค้นหารายงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร
รวมทั้งมีหน่วยสารสนเทศที่ได้มาตรฐาน
22.
งบประมาณ
ค่าใช้จ่ายดำเนินการในการผลิตบัณฑิต ประมาณคนละ 150,000.00 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
23.
หลักสูตร
23.1 จำนวนหน่วยกิตรวม ตลอดหลักสูตร 20
หน่วยกิต
23.2 โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน 13
หน่วยกิต
รายวิชาบังคับ 12
หน่วยกิต
- รายวิชาบังคับร่วม 4
หน่วยกิต
- รายวิชาบังคับเฉพาะสาขา
8 หน่วยกิต
รายวิชาเลือกไม่น้อยกว่า
1 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาปฏิบัติการคลินิก
7 หน่วยกิต
23.3 รายวิชา
23.3.1 รายวิชาบังคับ 12
หน่วยกิต
23.3.1.1 รายวิชาบังคับร่วม
4 หน่วยกิต
3200 711 ชีวเวชศาสตร์ 1
2 (2-0-6)
Biomedical Science I
3200 712 ชีวเวชศาสตร์ 2 2
(2-0-6)
Biomedical Science II
23.3.1.2
รายวิชาบังคับเฉพาะสาขา 8
หน่วยกิต
3201
701 กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์บริเวณศีรษะและคอ 1
(1-0-3)
Applied Anatomy of Head and Neck
3202 702 จุลชีววิทยาช่องปากและวิทยาภูมิคุ้มกัน 1
(1-0-3)
Oral Microbiology and Immunology
3215 740 ปริทันตวิทยาขั้นสูง
2 (2-0-6)
Advanced Periodontology
3215 741 ปริทันต์บำบัดขั้นสูง 1
1 (1-0-3)
Advanced Periodontal Therapy I
3215 742 ปริทันต์บำบัดขั้นสูง 2 1
(1-0-3)
Advanced Periodontal Therapy II
3215 744 สัมมนาวรรณกรรมปริทันตวิทยา 1
1 (1-0-3)
Seminar on Periodontology Literature I
3216 713 ความเจ็บปวดและความผิดปกติของขากรรไกรและใบหน้า
1 (1-0-3)
Orofacial Pain and Temporomandibular Disorders
23.3.2
รายวิชาเลือก
ไม่น้อยกว่า 1 หน่วยกิต
3206 777 การถ่ายภาพทางทันตกรรม 1
(1-0-3)
Dental Photography
3208 730 ทันตวัสดุศาสตร์ชั้นสูง 1
(1-0-3)
Advanced Dental Material Sciences
3211 737 อายุรศาสตร์ทั่วไป 1
(1-0-3)
General Medicine
3213 706 โภชนาการเพื่อสุขภาพช่องปาก
1 (1-0-3)
Nutrition in Oral Health
3802 629 จิตวิทยาสัมพันธ์
1 (1-0-3)
Encountering Psychology
23.3.3
รายวิชาปฏิบัติการคลินิก
7 หน่วยกิต
3215 771* ปริทันตวิทยาคลินิก 1
1 (0-6-0)
Clinical Periodontology I
3215 772* ปริทันตวิทยาคลินิก 2
5 (0-30-0)
Clinical Periodontology II
3215 773* ปริทันตวิทยาคลินิก 3**
S/U
Clinical Periodontlogy III**
3216
702 ปฏิบัติการระบบการบดเคี้ยว 1
(0-3-1)
Clinical Occlusion
23.4
แผนการศึกษา
ปีที่
1 ภาคการศึกษาที่ 1
หน่วยกิต
3200
711 ชีวเวชศาสตร์ 1 2
3200 712 ชีวเวชศาสตร์ 2 2
3201 701 กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์บริเวณศีรษะและคอ 1
3215 740 ปริทันตวิทยาขั้นสูง
2
3215 741 ปริทันต์บำบัดขั้นสูง 1 1
3215 771* ปริทันตวิทยาคลินิก 1
1
3216 713 ความเจ็บปวดและความผิดปกติของ
ขากรรไกรและใบหน้า
1
XXXX XXX วิชาเลือก
1
11
ปีที่
1 ภาคการศึกษาที่ 2 หน่วยกิต
3202 702 จุลชีววิทยาช่องปากและวิทยาภูมิคุ้มกัน 1
3215 742 ปริทันต์บำบัดขั้นสูง 2
1
3215 744 สัมมนาวรรณกรรมปริทันตวิทยา 1
1
3215 772* ปริทันตวิทยาคลินิก 2 5
3216 702 ปฏิบัติการระบบการบดเคี้ยว 1
9
ปีที่ 1 ภาคฤดูร้อน
3215 773* ปริทันตวิทยาคลินิก 3 S/U
|